วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สนุกกับ IOT ตอน ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่าน Cloud Sever Beebotte ของ Raspberry Pi 3

สนุกกับ IOT ตอน ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ผ่าน Cloud Sever Beebotte ของ Raspberry Pi 3




สั่งซื้อ Relay module ได้ที่ คลิกสั่งเลย

          สวัสดีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวไอทีทุกท่านครับวันนี้ผมมีโปรเจ็คเกี่ยวกับ Iot มานำเสนอ ซึ่ง Iot เป็นเทคโนโลยีกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาล ฟาร์มอัฉริยะ โรงเรียนเป็นต้น 


มาเป็นเพื่อนในไลน์กับเราซิ เรารับทำหรือปรึกษาฟรี Add line

   มารู้จักกับ Iot  

          Iot ย่อ มาจาก Internet Of Thing  แล้วมันคืออะไร ?  เอาแบบที่ผมเข้าใจเลยก็คือ สิ่งของที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอิเทอร์เน็ต สิ่งของที่ก็อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ทีวี ตู้เย็น ไฟส่องสว่าง เป็นต้น หรือสิ่งของทางด้านอุตสหกรรมก็เช่น ระบบทำความเย็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบควบคุมสภาพอากาศ ควบคุมสภาพในโรงงานเป็นต้น และอื่นๆอีกมากมาย
       
         เอา Iot มาใช้กับสิ่งของที่ไว้ได้อย่างไร ?  อุปกรณ์ที่สำคัญคงหนีไม่พ้นเทคโนโลยีของระบบฝังตัว (Embedded System) เป็นตัวที่ติดต่อกับอุปกรณ์ Output/Input เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ  เซ็นเซอร์ตรวจวัดความชื่น  เซ็นเซอร์วัดระยะทาง เป็นต้น เราเรียกอุปกรณ์นี้ว่าเป็นอุปกรณ์อินพุต ส่วนอุปกรณ์เอาต์พุตก็อาทิเช่น การนำสัญญาณจากบอร์ด Embedded System ในที่นี้ผมจะใช้บอร์ด Raspberry Pi 3
นำมาควบคุมอุปกรณ์กรณ์ Relay Module

  มารู้จักกับ Beebotte Cloud Sever 

           
          ท่านสามารถเข้าไปศึกษาและทดลองใช้ได้จากเว็บ ฺBeebotte  คลาวเซิร์ฟเวอร์ของ Beebotte สามารถใช้งานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แบบเวลาจริงหรือ Real time ในที่นี้ก็คือ เชื่อมต่อกับบอร์ด Raspberry Pi สามารถกำหนด Dashboard เพื่อให้มาแสดงค่าต่างๆบนเว็บเบราว์เซอร์ เช่น แสดงอุณหภูมิ มีปุ่มปิด/เปิดไฟจำลองสวิตช์แบบ On/Off  คลาวเซิร์ฟเวอร์ของ Beebotte สามารถใช้บริการได้ทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงินท่านสามารถเลือกใช้ได้


         
รูปที่ 1 แสดงการทำงานของ  Beebotte Cloud Sever กับ  บอร์ด Raspberry pi
           จากรูปที่ 1 Beebotte จะมี API และโปรโตคอล MQTT เพื่อเชื่อมต่อกับบอร์ด Raspberry pi เพื่อทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ การทำงานจะแบ่งออกเป็นสองฝั่งคือ การเขียนโปรแกรมด้วยสคริปภาษา Python เพื่อกำหนดการทำงานของพอร์ต GPIO  ดังนั้นการทำงานระหว่างบอร์ด Raspberry pi กับระบบ Cloud Sever 


เมื่อกดปุ่มให้แสดงสถานะเป็น On




ลองทดสอบ Run Python สคริปเพื่อดูผลลัพธ์มีสถาะนเป็น True





ทดสอบดูสถานะของ GPIO พอร์ตที่เรากำหนด เป็นลอจิก 1แสดงว่านำสัญญาณไปควบคุมRelay module เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะอยู่ในสถานะเปิด 






เมื่อกดปุ่มให้แสดงสถานะเป็น Off



เปลี่ยนสถาะนเป็น False




         ทดสอบดูสถานะของ GPIO พอร์ตที่เรากำหนด เป็นลอจิก 0 แสดงว่านำสัญญาณไปควบคุมRelay module เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะอยู่ในสถานะปิด 




หากสนใจสั่ง Relay Module ตัวนี้ไปทดลอง ติดต่อที่นี่



ตัวอย่างการทดลอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น