วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

เริ่มต้นใช้โปรแกรม mikroC PRO for PIC (สร้างไฟล์ .hex )


        สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้โปรแกรม mikroC PRO for PIC  เพื่อสร้างไฟล์ที่มีนามสกุล
.hex  หลายคนอาจจะยังไม่เคยพบเคยเห็นหรือได้ใช้ไฟล์ นามสกุลนี้ ถ้าอธิบายง่ายๆก็คือ ไฟล์ที่เราเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง เช่น เราเขียนภาษาซีเพื่อ ไปควบคุมการทำงานของ Step Motor  เมื่อเขียนโปรแกรมแล้วเรา Compile มาจะได้ไฟล์มาหลายไฟล์ หนึ่งในในจะเป็นไฟล์นามสกุล.hex   เช่นไฟล์ชื่อ MotorControl.hex   เป็นต้น ไฟล์ที่ว่านี่แหละครับ จะนำไปใช้โปรแกรมลงบนไอซี ในที่นี้เราจะนำไปโปรแกรมลงบน Ic ตระกูล Pic การโปรแกรมลงในไอซีที่ว่านี่ ผมก็จะเรียกมันว่า"เบิร์นโปรแกรมลงบนไอซี"   หรือเราจะนำไฟล์ .hex นี้ ไป Stimulate โดยใช้โปรแกรม Proteus เรียกไฟล์นี้มาซึ่งผมใช้อยู่ เราคงพอเข้าใจแล้วว่า ไฟล์ .hexนำไปใช้ทำอะไร ต่อไปเราไปดูวิธีการใช้โปรแกรมกันเลยครับ  ภาพทั้งหมดที่อธิบายนำมาจาก โปรแกรม mikroC PRO for PIC


เริ่มต้นเปิดโปรแกรมขึ้นมา เลือด เมนู File >> New >> New Project





ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าคลิก Next  ครับ 55





1. ตั้งชื่อ Project   2.เลือก Folder  3. เลือกตระกูลชิพครับ ผมเลือก PIC18F2550 เพราะจะทำไปทดสอบกับชิพเบอร์นี้  4. กำหนด Device Clock เป็น 20 MHz เพราะผมจะใช้ Crystal Oscillator    สร้างสัญญาณ Clock ให้กับ ชิพตัวนี้  ซึ่งการต่อวงจรจะอยู่ใน บทความต่อไป เสร็จแล้ว คลิก Next >> Finish 



ได้พื้นที่มาสำหรับเขียนโปรแกรมครับ 





ให้เราลอง คลิก Build 







รอจน โปรแกรม Compile เสร็จ มาดูล่างสุด ถ้าผ่าน จะขึ้นข้อความว่า Finished successfully  







ให้เราไปดูในไฟล์ที่เรา  Save โปรเจคไว้ ใน Directory  จะเจอไฟล์ LED_TEST.hex  
นี่แหละครับ ไฟล์ที่เรานำไปเบิร์นบนไอซี แต่เบิร์นไปก็ทำอะไรไม่ได้ครับตอนนี้เพราะเรายังไม่ได้เขียนโปรแกรมอะไรลงไปเลย 





     เขียนโปรแกรมลงไปครับ จากโปรแกรมคือ สั่งให้ LED ติดดับ นั่นเองลองดูครับ เสร็จแล้วคลิก Build 
แล้วลองดูครับว่า Complie ผ่านไหมหากขึ้น Error  สีแดงๆให้เราแก้ไขครับเพราะอาจเกิดจากผิด ไวยากรณ์ หรือ พิมพ์ผิด
ทีนี้เราก็สามารถเอาไฟล์ .hex เราไปใช้ เบิร์นไอซีได้แล้วครับ  





โปรดติดตามตอนต่อไป :)

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

เริ่มต้นการใช้ โปรแกรม Proteus (Proteus Begin)



 เลือก Menu File New Project 





Set ตามภาพเลยครับ จากนั้นคลิก Next ไปเรื่อย แล้วคลิก Finish 





พื้นที่สำหรับ สร้าง Schematic 







ต่อไปเป็นการเลือก อุปกรณ์มาสร้าง Schematic  คลิกภาพบลำดับในภาพเลยครับ

จากนั้น เราสามารถพิมพ์ค้นหา อุปกรณ์ในช่อง Keyword : ได้เลย








     เช่น หากเราต้องการหา หลอดไฟ LED สีแดง เราก็พิมพ์ คำว่า led red ไป ก็จะมี Device ของอุปกรณ์ตัวนั้นๆมา ให้เรา double ที่ device ของ LED จากนั้น อุปกรณ์ที่เราเลือกจะไปอยู่ที่ device ด้านซ้ามมือในกรอบที่ 2 หากต้องการเพิ่มอุปกรณ์อีกให้พิมพ์ ในช่อง Keyword: ในตัวอย่างผมจะเพิ่ม Mosfet เบอร์ Bs170 เพิ่มไปอีก 1 ตัว






อุปกรณ์ที่เราเลือกมา







      สำหรับการวางอุปกรณ์ลงบนพื้นที่ให้คลิกดังภาพ หมายเลข2 คลิกซ้ายที่ BS170 แล้วปล่อยคลิกซ้ายลองเลื่อนเมาส์ไปทางซ้ายมือสังเกตได้ว่า จะมีสัญลักษณ์มอสเฟต  ให้เราเลื่อนเมาส์ไปตรงตำแหน่งที่เราต้องการ ไม่ต้องคลิกเมาส์เลย ครับ แค่เลื่อนไป เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว คลิกเมาส์ซ้ายอีกครั้ง   เพื่อวางอุปกรณ์ สีชมพูของอุปกรณ์ที่เห็นอยู่จะหาไป  แต่หากต้องการยกลงเพื่อไปเอาอุปกรณ์อื่นอย่าเพิ่งคลิกซ้าย ให้คลิกขวาอุปกรณ์ที่เลือกมาจะหายไป





เมื่อวางอุปกรณ์ลงแล้ว อุปกรณ์จะเป็นสีดังภาพ แสดงว่า วงอุปกรณ์ลงแล้ว ให้เอา LED มาวางทำแบบเดิมครับ 







ต่อไปเป็นการเดินลายวงจร จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ให้กดที่ลูกศรสีดำตามภาพ ด้านซ้ายบน เอาเมาส์ไปชี้ที่ขาอุปกรณ์เริ่มต่อจะเห็น ดินสอ สีเขียงขึ้นที่เมาส์ ให้เราคลิก1ครั้ง แล้วเลื่อนเมาส์ไปที่ ขาของอุปกรณ์ปลายทาง จากนั้นคลิกอีกครั้งเพื่อเชื่อมต่อลายวงจร





ลายวงจรเชื่อต่อกันแล้ว




ต่อ Ground ให้วงจร คลิกตามภาพเลยครับแล้วเอา ไปวางทำเหมือนเดิม





เพิ่มแหล่งจ่ายไฟให้วงจร เป็นไฟกระแสตรง (DC Voltage )



กำหนดแรงดันไฟ 3 Volt โดย double click สัญลักษณ์  Q1(D) เปลี่ยน เป็น 3 แล้วกด OK





เลือกแหล่งจ่าย สัญญาณ พัลส์  (Pulse Generator)  เอาไปวง  การวงทำเหมือนเดิมทุกอย่าง 






ตั้งค่าตามภาพ หรือ ตั้งค่าตามที่ท่านต้องการ 





      เดินลายวงจรให้ครบจากนั้น คลิก สัญลักณษ์ เริ่มการ Simulation การทำงานของวงจร 
สังเกตได้ว่า ไฟจะกระพิบๆ เป็น Step ของสัญญาณพัลส์ ที่เรา Generate  ไว้ โดยสัญญาณพัลส์ดังกล่างจะไปควบคุมการ On/Off ของ Mosfet ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์จ่ายไฟจาก แหล่งจ่ายไฟ DC ไปยัง หกขั้วลบของหลอด LED หากต้องการกลับไปแก้ไขวงจรให้เรา คลิกหยุดการ Simulation 



หากต้องการ ดูสัญญาณจาก Oscilloscope ก็คลิกตามภาพเลยครับ จากตัวอย่างผมจะดูสัญญาณพัลส์ที่ Generate มา





    กด สัญลักษณ์ Play อีกครั้ง หน้าจอของ Oscilloscope  ก็จะขึ้นมาดังภาพ เราก็สามารถดสัญญาณได้แล้ว