วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สร้างRelay Moduleอย่างง่ายเพื่อนำไปใช้เชื่อมต่อกับบอร์ด Embedded System เช่น Raspberry pi



การสร้างRelay Module อย่างง่าย

เพื่อนำไปใช้เชื่อมต่อกับบอร์ด Embedded System
Raspberry pi , Arduino และวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์อื่นๆ 





         สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ครับ และขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาโดยตลอด วันนี้บทความนี้จะพูดถึงเรื่องการสร้างวงจร Relay module แบบง่ายๆโดยอาศัยหลังการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การนำทรานซิสเตอร์มาทำงานเป็นสวิตช์
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Relay module ก่อน

สนใจไฟล์ติดต่อขอซื้อไฟล์ต้นฉบับที่นี่  คลิก!!
                
             module ในที่นี้จะหมายถึงบอร์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างบอร์ด Embedded system กับอุปกรณ์ที่เราต้องการควบคุม 

                  Relay ก็คือสวิตช์แม่เหล็กไฟฟ้า ก็เหมือนกับการใช้ที่เรากดสวิตช์ปิดเปิดไฟเมื่อกดเปิดก็ หน้าสัมผัสอีกฝั่งหนึ่งก็ไปแตะกับอีกฝั่งหนึ่ง จึงทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากแหล่งจ่ายไปยังโหลดจนครับวงจร รีเลย์ก็เช่นกันเพียงแต่เปลี่ยนจากระบบกดด้วยมือเป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านขวดลวดเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไปผลักหน้าสัมผัสไปแตะกันเพื่อเชื่อมต่อเป็นสะพานไฟ โดยปกติแล้วรีเลย์จะมีสองสถานะคือ NO หรือ ปกติเปิด และNC คือปกติ มาดูภาพประกอบการทำงานเพื่อความเข้าใจกันดีกว่า 



          จากภาพแสดงการทำงานของรีเลย์สถานะ NC หรือปกติปิด ความหมายคือไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ (รีเลย์ไม่ทำงาน)ทำให้หน้าสัมผัสเชื่อมต่อจาก COM ไปยังขา NC 



           จากภาพแสดงการทำงานของรีเลย์สถานะ NO หรือปกติเปิด ความหมายคือมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ (รีเลย์ทำงานสังเกตจะได้ยินเสียงดังแต๊ก)ทำให้หน้าสัมผัสเปลี่ยนการเชื่อมต่อเดิมจาก COM ไปยังขา NC เปลี่ยนเป็น COM ไปยังขา NO แทน

          เราสามารถนำวงจรดังกล่าวไปประยุกต์ในการทำสวิตช์ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้ แต่ที่สำคัญเราควรศึกษาการเลือกใช้ Relay ให้เหมาะสมกับงานที่เราต้องการนำมาใช้ เช่น มีการทดกระแสสและแรงดันมากพอ ใช้กับไฟ AC หรือ DC เป็นต้น เราพอจะทราบว่าเราสามารถสั่งให้ Relay ทำงานได้โดยการป้อนแรงดันให้กับขดลวด ส่วนต้องการแรงดันเท่าไหร่เราสามารถตรวจสอบได้จาก Datasheet  ของรีเลย์ตัวที่เราต้องการใช้ เช่นรีเลย์ 5V , 12V , 24V

แล้วทีนี้เราจะเอาแรงดันจากไหนไปจ่ายให้ขดลวดหละจาก Port เอาต์พุตได้ไหม แล้วจะให้แรงดันไหลตามที่เราได้โปรแกรมไว้ได้อย่างไรปกติแล้ว ?

              คำตอบคือ แรงดันเอาต์พุตจากบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ส่วนใหญ่จะมีแรงดันอยู่ที่ 5V แต่ถ้าแรงดันจากพอร์ต GOPI ของ Raspberry pi อยู่ที่ 3.3V ถือว่าเป็นแรงดันขนาดเล็กไม่เหมาะกับการนำไปใช้อุปกรณ์ที่กินกระแสสูงๆ เช่น ขดลวดรีเลย์ แรงดันไฟที่ไปเลี้ยงตัวบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์อาจดรอปลงได้ และการควบคุมการไหลของไฟกระแสตรงจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

การใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานเป็นสวิตช์
            การนำทรานซิสเตอร์มาทำเป็นสวิตช์มีอยู่สองสถาวะ คือสถาวะต่อวงจร (ON) และคือช่วงที่ทรานซิสเตอร์ทำงานในช่วงsaturationหรือช่วงอิ่มตัวและสภาวะตัดวงจร (OFF) คือช่วงที่ทรานซิสเตอร์ไม่เกิดการนำกระแสหรืออยู่ในสถะวะไม่อิ่มตัวการที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์อยู่ในสภาวะ On ได้คือการไอบัสตรงที่ขาBase ของทรานซิสเตอร์ด้วยแรงดันที่พอเหมาะ และการทำให้ทรานซิสเตอร์อยู่ในสภา  Off คือการไบอัสกับให้ขา Base ของทรานซิสเตอร์ 



                  แสดงการทำงานของสวิตช์ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN เมื่อจ่ายแรงดันบวกไบอัสให้ขา B  ทรานซิสเตอร์ทำงาน ค่าความต้านทานระหว่างขา C และ E ต่ำลงเสมือนกับค่าตานทานเท่า 0 หรือมีการเชื่อมต่อกันทำให้ทรานซิสเตอร์ต่อวงจร (ON)





                   เมื่อจ่ายอัสกลับ IB  = 0 ค่าความต้านทานระหว่างขา C และ E มีค่ามากเหมือนการแยกออกจากกันของหน้าสัมผัสสวิตช์ทำให้เกิดการตัดวงจร (Off)




                     แสดงการทำงานเมื่อยังไม่มีแรงดันบวกไปอัสที่ขา B ทำให้ความต้านทานระหว่างขา C และขา E  ทรานซิสเตอร์มีค่าความต้านทานมาก สังเกตจากขดลวดของรีเลย์มีการต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟ 12Vด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อกับขา C ของทรานซิสเตอร์รอการตัดต่อให้อีกขาหนึ่งขอขดลวดไปต่อกับ Ground สถานะรีเรย์ตอนนี้คือ NC หลอดไฟ L2 ทำงานตลอดเวลา 


           แสดงการทำงานเมื่อมีแรงดันบวกไปอัสที่ขา B กระแสไหลผ่านตัวต้านทาน RB ความต้านทานระหว่างขา C และขา E  ทรานซิสเตอร์มีค่าความต้านทานน้อยมาก สังเกตจากขดลวดของรีเลย์มีการต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟ 12Vด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อกับขา C  ทรานซิสเตอร์ตัดต่อให้อีกขาหนึ่งของขดลวดไปต่อกับ Ground สถานะรีเรย์ตอนนี้คือ NO หลอดไฟ L1 ทำงานตลอดเวลา และหลอดไฟ L2 ดับลง 

          สำหรับการออกแบบ Relay module แบบง่ายๆก็มีเนื้อหาที่จะนำเสนอไว้เพียงเท่านี้ ส่วนการออกแบบวงจร PCB ท่านสามารถดูวีดีโอนี้และฝึกทำตามได้ครับ ปรับคุณภาพเอาครับหากสะดุด







ทำ Relay Module สำหรับการทดลอง


จำหน่ายRelay Module สำหรับการทดลอง


           สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการออกแบบลายวงจรด้วยคนเอง ผมมีข้อเสนอให้ท่านสามารถนำไฟล์ที่ PCB ที่ผมสร้างขึ้นนำไปกัดปริ้นทดลองด้วยตนเองได้เลย พิเศษวันนี้

หลักการทำงาน คลิก!!!










150  บาท  โอนปุ๊บส่งให้ปั๊บๆ 



สนใจติดต่อ 082 968 2427 

Facebook


รับสั่งทำ PCB  ด้วย 




ตัวอย่างการนำไปใช้