วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระบบล็อค/ปลดล็อคกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า ผ่านระบบตรวจสอบใบหน้าและควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ต


Smart Home Hand Build  ระบบล็อค/ปลดล็อคกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า ของประตู 


โดยการตรวจสอบใบหน้า ของบุคคลภายใน และควบคุมผ่านเว็บไซต์






สวัสดีครับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว ไอทีทุกท่านครับวันนี้ผมมีโปรเจคหนึ่งมานำเสนอ ถือว่าเป็นโปรเจคที่ไม่ไม่ว่าเป็นโปรเจคใหม่มากนัก มีผู้ทำขึ้นมาแล้วและมีจำหน่ายทั่วไป โปรเจคที่จะนำเสนอวันนี้คือ ระบบ….. แน่นอนครับว่าชิ้นงานแบบนี้มีขายแน่นอน แต่จุดประสงค์หลักของนักพัฒนาคือการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่มาพัฒนาให้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ทำเทคโนโลยีหลายๆด้านมารวมกันให้เกิดเป็นชิ้นงานขึ้นมาใหม่ๆ ในที่นี้คือ การนำบอร์ด Embedded system Raspberry pi มาประยุกต์ใช้ ด้วยการเขียนโปรแกรมสคลิปภาษา Python สำหรับเชื่อมต่อ Interface เข้ากลับ Camera module เพื่อตรวจสอบใดหน้าของบุคคลที่ระบบบันทึกไว้ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบแล้วระบบจะสั่งงานให้ระบบล็อคทำงานตามที่เราตั้งค่าไว้ เป็นการเพิ่มระดับความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง 

นอกจากสามารถทำงานด้วยระบบตรวจสอบใบหน้าแล้วสามารถควบคุมผ่านคลาวเซอร์เวอร์ได้ สามรถตรวจสอบสถานะของประตูบานที่เราติดตั้งระบบไว้ว่าล็อคอยู่หรือไม่ สามารถล็อคและปลดล็อคผ่านระบบเครือข่ายได้ เท่ห์ไปอีกแบบใช้ไหมครับ ในที่นี้จะเลือกใช้ระบบ คลาวเซอร์เวอร์ของ Beebotte เนื่องจากมีการป้องกันสูงด้วย SSL ผู้ใช้ระบต้องระบบ Username และ  Password เมื่อต้องการเข้าสู่ระบบทุกครั้ง 



อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี คือ 

บอร์ด Raspberry pi แนะนำเป็นเวอร์ชั่น 3 หลายท่านรู้จักไมโครคอมพิวเตอร์ตัวนี้ดีอยู่แล้ว

Camra Module แนนนำจากเว็บ lazada เพราะราคาถูกมีความละเอียดถึง 5ล้านพิกเซล 

5MP Wide Angle Camera ที่มา :  Lazada



Relay Module ทำหน้าที่ตัดต่อไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟตรง 12v ให้กับ กลอนแม่เหล็กไฟฟ้าหากสนใจสั่ง Module ตัวนี้ไปทดลอง ติดต่อที่นี่ เราจะต่อแบบ NC (Normally Close) คือถ้าไม่มีกระแสไฟผ่านขดลวดของรีเลย์ จะมีการจ่ายแรงดัน 12v ไปยังกลอนแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลาหมายถึงประตูล็อค แต่ถ้ามีแรงดันไฟผ่านขวดลวดรีเลย์ จะเป็นการหยุดจ่ายแรงดัน12vจากแหล่งจ่ายไปยังลอนแม่เหล็กไฟฟ้าตลอดเวลาหมายถึงประตูล็อคนั่นเอง



กลอนแม่เหล็กไฟฟ้า Electric Magnetic lock 
จอแสดงผลกรณีต้องการให้แสดงผล
ลำโพง Buzzer เพื่อส่งเสียงให้ผู้ใช้รับรู้


การต่อใช้งาน Relay Module กับบอร์ด Raspberry Pi






ขั้นตอนการทำงานคร่าวๆ มีดังนี้ 




อธิบายขั้นตอนการทำงาน 

ก่อนอื่นผู้พัฒนาระบบต้องเก็บภาพใบหน้าตรงของบุคคลภายในหรือเจ้าของบ้าน เก็บไว้ในไดเร็กทอรี่ที่โปรแกรมสามารถเรียกใช้โดยการเขียนโปรแกรม 


เมื่อระบบเริ่มทำงานฟังค์ชั่นสำหรับ โมดูลกล้องถูกสั่งงานด้วยโปรแกรมเมื่อผู้ควบคุมระบบสั่งให้ระบบทำงานขณะที่เจ้าของบ้านหรือผู้ที่บันทึกภาพใบหน้าไว้ในระบบแล้ว มายืยหน้ากลองเผื่อให้กล้องจับภาพใบหน้าลักษณะหน้าตรง เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำข้อมูลไปตรวจสอบเงื่อนไข หากเป็นจริงให้โปรแกรมสั่งให้เอาต์พุตเป็นลอจิก 1 นำสัญญาณไปเข้าบอร์ด Relay Module หยุดจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปที่กลอนแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้กลอนแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ดึงดูดติดกัน  


ในกรณีที่ระบบตรวจสอบใบหน้าเก็บภาพบุคคลภายนอกนอก นำไปตรวจสอบเงื่อนไขแล้ว ไม่ตรงกับภาพที่เราเก็บข้อมูลจะไปมีสัญญาณออกที่เอาต์พุตหมายความว่า gpio มีลอกจิก 0 นึงไม่สามารถสั่งทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไฟผ่านไปยังหลอนแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ท่านสามารถศึกษาการทำงานของกลอนแม่เหล็กไฟฟ้าได้จากอินเทอร์เน็ตมากมาย ผมขอไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ 

         ส่วนการควบคุมผ่าน Cloud Sever  สามารถนำโปรเจค ที่เคยนำเสนอผ่านมาก่อนหน้านี้  คลิก!!

         สำหรับการนำเสนอบทความผมขอจบไว้เพียงเท่านี้ การเขียนในครั้งนี้ยังไม่ได้ทำการทดลองเนื่องจากอุปรณ์ยังไม่พร้อมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ แต่ผมเต็มใจที่จะแบ่งปันแนวคิดที่ไม่ใหม่มากแต่พยายามที่จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและโปรดติดตามกันต่อไป ขอบคุณครับ

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่!!






วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สนุกกับ IOT ตอน ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่าน Cloud Sever Beebotte ของ Raspberry Pi 3

สนุกกับ IOT ตอน ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ผ่าน Cloud Sever Beebotte ของ Raspberry Pi 3




สั่งซื้อ Relay module ได้ที่ คลิกสั่งเลย

          สวัสดีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวไอทีทุกท่านครับวันนี้ผมมีโปรเจ็คเกี่ยวกับ Iot มานำเสนอ ซึ่ง Iot เป็นเทคโนโลยีกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาล ฟาร์มอัฉริยะ โรงเรียนเป็นต้น 


มาเป็นเพื่อนในไลน์กับเราซิ เรารับทำหรือปรึกษาฟรี Add line

   มารู้จักกับ Iot  

          Iot ย่อ มาจาก Internet Of Thing  แล้วมันคืออะไร ?  เอาแบบที่ผมเข้าใจเลยก็คือ สิ่งของที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอิเทอร์เน็ต สิ่งของที่ก็อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ทีวี ตู้เย็น ไฟส่องสว่าง เป็นต้น หรือสิ่งของทางด้านอุตสหกรรมก็เช่น ระบบทำความเย็นขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบควบคุมสภาพอากาศ ควบคุมสภาพในโรงงานเป็นต้น และอื่นๆอีกมากมาย
       
         เอา Iot มาใช้กับสิ่งของที่ไว้ได้อย่างไร ?  อุปกรณ์ที่สำคัญคงหนีไม่พ้นเทคโนโลยีของระบบฝังตัว (Embedded System) เป็นตัวที่ติดต่อกับอุปกรณ์ Output/Input เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ  เซ็นเซอร์ตรวจวัดความชื่น  เซ็นเซอร์วัดระยะทาง เป็นต้น เราเรียกอุปกรณ์นี้ว่าเป็นอุปกรณ์อินพุต ส่วนอุปกรณ์เอาต์พุตก็อาทิเช่น การนำสัญญาณจากบอร์ด Embedded System ในที่นี้ผมจะใช้บอร์ด Raspberry Pi 3
นำมาควบคุมอุปกรณ์กรณ์ Relay Module

  มารู้จักกับ Beebotte Cloud Sever 

           
          ท่านสามารถเข้าไปศึกษาและทดลองใช้ได้จากเว็บ ฺBeebotte  คลาวเซิร์ฟเวอร์ของ Beebotte สามารถใช้งานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แบบเวลาจริงหรือ Real time ในที่นี้ก็คือ เชื่อมต่อกับบอร์ด Raspberry Pi สามารถกำหนด Dashboard เพื่อให้มาแสดงค่าต่างๆบนเว็บเบราว์เซอร์ เช่น แสดงอุณหภูมิ มีปุ่มปิด/เปิดไฟจำลองสวิตช์แบบ On/Off  คลาวเซิร์ฟเวอร์ของ Beebotte สามารถใช้บริการได้ทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงินท่านสามารถเลือกใช้ได้


         
รูปที่ 1 แสดงการทำงานของ  Beebotte Cloud Sever กับ  บอร์ด Raspberry pi
           จากรูปที่ 1 Beebotte จะมี API และโปรโตคอล MQTT เพื่อเชื่อมต่อกับบอร์ด Raspberry pi เพื่อทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ การทำงานจะแบ่งออกเป็นสองฝั่งคือ การเขียนโปรแกรมด้วยสคริปภาษา Python เพื่อกำหนดการทำงานของพอร์ต GPIO  ดังนั้นการทำงานระหว่างบอร์ด Raspberry pi กับระบบ Cloud Sever 


เมื่อกดปุ่มให้แสดงสถานะเป็น On




ลองทดสอบ Run Python สคริปเพื่อดูผลลัพธ์มีสถาะนเป็น True





ทดสอบดูสถานะของ GPIO พอร์ตที่เรากำหนด เป็นลอจิก 1แสดงว่านำสัญญาณไปควบคุมRelay module เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะอยู่ในสถานะเปิด 






เมื่อกดปุ่มให้แสดงสถานะเป็น Off



เปลี่ยนสถาะนเป็น False




         ทดสอบดูสถานะของ GPIO พอร์ตที่เรากำหนด เป็นลอจิก 0 แสดงว่านำสัญญาณไปควบคุมRelay module เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะอยู่ในสถานะปิด 




หากสนใจสั่ง Relay Module ตัวนี้ไปทดลอง ติดต่อที่นี่



ตัวอย่างการทดลอง