การปิด-เปิดไฟภายในบ้าน ควบคุมผ่านเว็บเบราว์เซอร์
สวัสดีเพื่อนๆชาว IT ทุกท่านครับ วันนี้ขอนำเสนอโปรเจคง่ายๆ ที่หลายคนให้ความสนใจรวมถึงผมก็มีความสนใจในโปรเจคนี้ เพื่อนำไปต่อยอดใช้งานได้หลากหลายๆ
ผมไม่ขอพูดถึงทฤษฐีอะไรมากนักครับ เพราะเห็นว่ามีแหล่งข้อมูลที่ท่านอาจจะศึกษาได้อีกมากมาย เพื่อความเข้าใจผมขอสรุปแบบสั้นๆ เท่าที่จะสั้นได้เกี่ยวกับโปรเจคดังกล่าว Ok ครับเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
คำเตือน !!!
การทดสอบอุปกรณ์กับกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แรงดันสูง เช่น ไฟบ้าน 220V มีอันตรายสูงถึงขั้นเสียชีวิต ควรศึกษาการต่อวงจรไฟฟ้าให้ชำนาญเสียก่อน หรือทดลองกับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ประมาณ12v , 24v ก็ทดสอบได้ครับ หากเกิดอุบัติเหตกับท่านใดผมผู้เขียนบทความเพียงให้คำแนะนำจะไม่ขอรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
ก่อนอื่นหากท่านใดยังไม่ได้อ่านบทความที่ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้คือเรื่อง
"การใช้ Web browser ควบคุมหลอด LED (เปิด - ปิด)"
ติดตามอ่านได้จากลิงค์นี้ครับ
โปรด คลิก !
สามารถนำเนื้อหามาต่อยอดกับโปรเจคนี้ได้
การออกแบบ Relay module
หากสนใจสั่ง Module ตัวนี้ไปทดลอง ติดต่อที่นี่
ทำไมต้องใช้ Relay Module ? อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆคือ การที่จะนำสัญญาณจาก gpio port ไปควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำได้ แต่สัญญาณจาก gpio ที่ logic 1 มีแรงดันเพียง 3.3v นำไปใช้ได้กับอุปกรณ์ที่ต้องการแรงดันต่ำๆ เช่น หลอดไฟ LED เป็นต้น ในการเลือกใช้ Relay ควรดูการทนกระแสของRelayตัวนั้นๆด้วย
ในส่วนของ Relay module ที่จะกล่าวถึงก็คือ การนำทรานซิสเตอร์มาประยุกต์ใช้ให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ การทำงานของสถานะสวิตช์จะเปิดหรือปิดขึ้นอยู่กับ gpio port ทรานซิสเตอร์ที่นำมาเป็นสวิตช์อธิบายได้จากรูปได้ดังนี้
วงจร Relay Module
จากวงจรดังภาพ ใช้ทรานซิสเตอร์ Q1 เป็นสวิตช์ ที่ขา B ของทรานซิตเตอร์ต่อกับ Port GPIO ของ Raspberry pi เมื่อ port gpio เป็น Logic 0 (0 V) ทรานซิสเตอร์จะยังไม่ทำงานยังไม่มีแรงดันตกคร่อมและไม่มีกระแสไหลที่ขดลวดของ Relay เพียงแต่ขดลวดด้านหนึ่งต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟ DC 12 V แต่ขวดลวดอีกขั้วหนึ่งยังไม่ต่อกราวน์ รีเลย์จึงไม่ทำงาน
แต่เมื่อ port gpio เป็น Logic 1 (3.3 V) แสดงการทำงานดังรูปถัดไป
จะเห็นได้ว่ามีแรงดันมาไบอัสที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ทำให้มีกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ 12v เข้าไหลผ่านขดลวดของรีเลย์เข้าขา C ลงกราวน์ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของขดลวดรีเลย์ทำงานก็เหมือนกับการเราเปิดไฟบ้านให้มัน On นั่นเอง
อธิบายแผนภาพได้ดังนี้
ต่อไปเป็นขั้นตอนการออกแบบ วงจร Relay Module
ออกแบบ PCB ด้วยโปรแกรม Proteus (สนใจเรียนติดต่อ https://www.facebook.com/elecyslowlife/)
อธิบายตำแหน่งขอจุดเชื่อมต่อ
1. Terminal Block ชื่อ 12VDC ขา 1 สำหรับต่อกับแหล่งจ่ายไฟ +12VDC
ขา 2 สำหรับต่อกับแหล่งจ่ายไฟ - 12VDC
1. Terminal Block ชื่อ OUT ขา 1 สำหรับต่อกับแหล่งจ่ายไฟ เลี้ยงอุปกรณ์ 1 เส้น
ขา 2 ต่อกับอุปกรณ์ที่เราควบคุม
เช่น เราต้องการควบคุมเครื่องหลอดไฟส่องสว่าง 220VAC เราจะต่อแบบเดียวกับสวิตช์ไฟบ้านเลย กล่าวคือ ปกติไฟบ้านเราคือไฟกระแสสลับหรือ AC 220 V มีสองเส้นคือ L N ให้เราต่อสาย L หรือ N เส้นใดเส้นหนึ่งเข้าไปขั้วหนึ่งของหลอดไฟ
ส่วนอีกหนึ่งเเส้นที่เหลือเราจะต่อเข้าไปสวิตช์ Relay ในที่ตัวต่อที่ Terminal Block ชื่อ OUT ที่ขา 1 แล้วขา 2 ไปต่อกับอีกขั้วหนึ่งของหลอดไฟ
แต่ระวังน่ะครับควรตรวจสอบความถูกต้องหรือ ต่อฟิวส์ป้องกันไว้หากเกิดการลัดวงจรจะได้ไมส่งผลเสียต่ออุปกรณ์และ ไม่ส่งผลต่อร่างกายเรา
จำลองสามมิติ
ตัดขนาดตามต้องการ
นำไปรีดแล้วแช่น้ำค่อยๆลอกออก
เจาะรูซะ
ลงอุปกรณ์
เสร็จเรียบร้อย
ส่วนของโปรแกรมเป็นการนำโปรเจคต่อจากคราวที่แล้วมาประยุกต์ใช้ติดตามได้จาก การใช้ Web browser ควบคุมหลอด LED
โปรแกรมตัวอย่างดังนี้ จากโปรแกรมต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างการทำงานแบบง่ายซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปพัฒนาให้ดูดีกว่านี้ได้
ทดลองการทำงานของโปรแกรม เมื่อยังไม่กดปุ่มเปิดไฟ
ทดลองการทำงานของโปรแกรม เมื่อกดปุ่มเปิดไฟ
วีดีโอผลการทดลอง
|
Can you make money? - Work
ตอบลบ“I where to buy titanium trim do not have titanium prices money to titanium forging make money making money,” งานออนไลน์ she tells me. “Don't know what apple watch stainless steel vs titanium you're doing?